จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ภายในพระบรมมหาราชวัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ใน วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2416 เพื่อจัดวางหลักเกณฑ์ระบบการจัดเก็บภาษีอากร ให้เป็นระเบียบมีแบบแผน ควบคุมเจ้าภาษีอากร ให้จัดส่งเงินรายได้แผ่นดินให้ ตรงตามกำหนดเวลา ถ้าผู้ใดละเมิดระเบียบแบบแผนการจัดส่งเงินภาษีอากรจะ ถูกลงโทษอย่างเฉียบขาด โดยทรงแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมีเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรรักษ์ (พระปิตุลา) เสนาบดีคลังเป็นที่ ปรึกษา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงควบคุมใกล้ชิด ต่อมาตั้งกรม บัญชีกลาง ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมพระราชทรัพย์ที่เป็นรายได้ส่งพระคลัง ผู้ที่มีตำเหน่งทำงานในหอรัษฎากรพิพัฒน์ต้องทำงาน ณ สำนักงานตามเวลาทุกวัน โดยมีเงินเดือนตอบแทน การปฏิรูปการคลังนี้เป็นการควบคุมรายได้ของรัฐให้เข้าสู่ พระคลังอย่างเต็มที่ทำให้ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีอากรที่ปฏิบัติหน้าที่เฉื่อย ชาหละหลวมหรือทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้นเดือดร้อน และการปฏิรูปการคลังได้ ประสบผลสำเร้จมากขึ้นเมื่อมีการตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเพราะงานแรกของ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคือตรวจสอบชำระภาษีของเสนาบดีกรมนาในคดีพระยา อาหารบริรักษ์ และการออกกฎหมายพระราชบัญญัติต่างๆ
back