เกี่ยวกับเรา

นิทรรศการและคลังสารสนเทศดิจิทัล "มหาวชิราวุธราชบรรณาลัย"

โครงการจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย

หลักการและเหตุผล

สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำนิทรรศการและคลังสารสนเทศดิจิทัล “จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย” เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2560 มีผู้สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการ เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาวิชาการ และเข้าถึงคลังข้อมูลดิจิทัล เป็นจำนวนมาก

สำนักงานวิทยทรัพยากร ตระหนักในภารกิจสงวนรักษาและส่งต่อคุณค่าของหนังสือหายากให้คนรุ่นหลัง จึงได้ดำเนินการจัดทำนิทรรศการและและพัฒนาคลังสารสนเทศดิจิทัล เพื่อขยายขอบเขตข้อมูลเพื่อต่อยอดและสร้างคลังความรู้แก่สังคมและประเทศชาติ ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มพูนความรู้แก่สังคมอย่างกว้างขวาง

นิทรรศการและคลังสารสนเทศดิจิทัล “จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย” ประกอบด้วยพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณ ข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และเรื่องราวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นศูนย์รวมของทรัพยากรสารสนเทศทรงคุณค่าจำนวนมาก เป็นแหล่งเชื่อมโยงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่บนเครือข่ายสารสนเทศ ที่สำคัญยังเป็นการถ่ายโอนสรรพวิชาความรู้ที่มีอยู่ในหนังสือ/เอกสารหายากที่เป็นสมบัติดั้งเดิมตกทอดมาจากห้องสมุดโรงเรียนข้าราชการพลเรือน และสมบัติส่วนพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้ทรงมอบให้เป็นสมบัติของมหาวิทยาลัยมายาวนานกว่า 100 ปี ให้อยู่ในรูปดิจิทัล จึงเป็นการต่อยอดและสร้างคลังความรู้แก่สังคมและประเทศชาติ ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์สงวนรักษาต้นฉบับทรัพยากรสารสนเทศทรงคุณค่า ให้เป็นมรดกของประเทศชาติสืบต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อน้อมรำลึกในพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อประเทศชาติและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. เพื่อเชื่อมโยงและเผยแพร่องค์ความรู้ทรงคุณค่าในรัชสมัยสมเด็จพระปิยมหาราช ให้มีการเข้าถึงได้ในวงการวิชาการอย่างกว้างขวาง ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือ/เอกสารหายาก ที่เป็นต้นฉบับดั้งเดิมให้คงความเป็นมรดกของชาติ
  4. เพื่อเชื่อมโยงประสานองค์ความรู้ทรงคุณค่าจากสมัยรัชกาลที่ 5 สู่รัชกาลที่ 6 ให้เข้าถึงได้อย่างสะดวกด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. เพื่อเป็นการสะสม/รวบรวม/เผยแพร่ความรู้ในรูปแบบสารสนเทศที่ทันสมัย เข้าถึงง่ายได้ทุกที่ทุกเวลา

ผู้รับผิดชอบ

คณะทำงานโครงการจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียน นิสิตนักศึกษา นักวิจัย อาจารย์ นักวิชาการ และประชาชนทั่วไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. การจัดแสดงนิทรรศการ "จุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย" ครอบคลุมข้อมูลจากรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  2. มีคลังสารสนเทศดิจิทัลเป็นคลังความรู้ 2 รัชกาลที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
  3. มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้ ผ่านสื่อออนไลน์สาธารณะ

ที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย พ.ศ. 2562

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีรศรี โพวาทอง อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พ.ศ. 2562
อาจารย์ ดร. ใกล้รุ่ง อามระดิษ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมรัชกาลที่ 6
คุณสุจิรา ศิริไปล์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์

คณะทำงานโครงการจุฬาลงกรณ์ราชบรรณาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม ประธานคณะทำงาน
นางสาวฐิตยารัตน์ อินทวงศ์ คณะทำงาน
นางสาวอมรรัตน์ ศรีสุรภานนท์ คณะทำงาน
ดร. บรรพต สร้อยศรี คณะทำงาน
นางสาวปรางทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณะทำงาน
นายธนัช บุญจันทร์ คณะทำงาน
นางสาววิภา จารีวงศ์ไพบูลย์ คณะทำงาน
นางสาวสุมาลย์ เชื้อสระคู คณะทำงาน
นางสาวพิมพ์นภา อมฤตวรชัย คณะทำงาน
นางสาวศิริพร คำยาด คณะทำงาน
นางวราวรรณ วีร์วรวงศ์ คณะทำงาน
นางสาววิชสรา อินทรัตน์ คณะทำงาน