พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

more info

Illustration, Vol.102 no.2630 (22 Jul. 1893)

more info

Illustration, Vol.102 no.2631 (29 Jul. 1893)

more info

ประเทศสยาม พ.ศ. 2411-2453

..ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียน ได้เสมอกัน..

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

more info

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร วัดประจำรัชกาล ในรัชกาลที่ ๕

...การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้ จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้...

ด้วยสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ

อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1

more info

อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1

พระราชนิพนธ์คัดสรร

พระราชนิพนธ์ละครดึกดำบรรพ์เรื่อง ท้าวแสนปม

เห็นแก่ลูก : ละคอนพูดองก์เดียว

ศกุนตลา

บทลครพูดสลับลำเรื่อง วิวาหพระสมุท

มัทนะพาธา, หรือ, ตำนานแห่งดอกกุหลาบ : ลครพูดคำฉันท์ 5 องค์

โรเมโอและจูเลียต เรื่องลครสลดใจของวิลเลียม เชกส์เปียร์

“นานาประเทศล้วน นับถือ

คนที่รู้หนังสือ แต่งได้

ใครเกลียดอักษรคือ คนป่า

ใครเยาะกวีไซร้ แน่แท้คนดง”

พระนลคำหลวง

“ ให้พึงนึกในใจไว้ว่าเราไม่ได้มาเรียนจะเปนฝรั่ง เราเรียนเพื่อจะเปนคนไทยที่มีความรู้เสมอฝรั่ง

เมืองเราเวลานี้ต้องการคนที่มีความรู้ที่จะรับราชการในน่าที่ต่างๆ และประกอบการต่างๆ ทั่วไปเปนอันมาก

เพื่อจะได้การปกครองบ้านเมืองเปนผลสำเร็จ ”

พระราชดำรัสตอบพวกนักเรียนในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 11 มกราคม รัตนโกสินทร์ 116 (พ.ศ. 2440) หน้า 138 จาก พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2417 ถึง พ.ศ. 2453

“เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไปตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด

จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกันไม่ว่าเจ้าว่าขุนนางว่าไพร่

เพราะฉนั้นจึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้

จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้”

พระราชดำรัสตอบในการพระราชทานรางวัลนักเรียนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อวันศุกร์เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีระกายังเป็นฉศก จุลศักราช 1246 (พ.ศ. 2427)
หน้า 39. จาก พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2417 ถึง พ.ศ. 2453

“พระมหาธีรราชประกาศไว้ ที่อังกฤษสมัยทรงศึกษา

ว่าเมื่อไรเสด็จกลับพารา จะเป็นไทยยิ่งกว่าเมื่อมาเรียนฯ”

หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล แปลจากกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
8 มีนาคม พ.ศ. 2437 ณ สถานอัครราชทูตสยาม กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

“ชนใดไม่มีดนตรีการ ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก

อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์”

เวนิสวานิช

กิจกรรมที่ผ่านมา