Severity: Notice
Message: Trying to get property of non-object
Filename: controllers/history.php
Line Number: 99
ในด้านการถ่ายภาพนั้น ไม่ว่าเสด็จประพาสที่ใดจะทรงติดกล้องถ่ายรูปไปด้วยเสมอ ดังนั้น ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จึงกลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ด้วยแสดงให้เห็นสภาพบ้านเมืองและผู้คนในรัชสมัยได้อย่างดียิ่ง
ส่วนในด้านวรรณกรรมนั้น ทรงเป็นทั้งกวีและนักแต่งหนังสือที่มีความรู้ลึกซึ้ง ทรงสามารถแเต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บทละคร ตลอดจนร้อยแก้วต่าง ๆ ได้อย่างดียิ่ง ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้มากมายหลายประเภททั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี วรรณคดีและอื่น ๆ ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในวงวิชาการวรรณกรรมไทยทั้งสิ้น นอกจากนั้น ยังทรงจัดตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนครขึ้น และให้มีคณะกรรมการออกหนังสือของหอพระสมุดติดต่อกันหลายเล่มในชื่อ วชิรญาณ และวชิรญาณวิเศษ ทั้งยังมีการตราพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย
ในทางศาสนา ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนา ทรงสร้างวัดหลายแห่ง ได้แก่ วัดราชบพิตร ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาล วัดเทพศิรินทราวาส วัดนิเวศธรรมประวัติ และวัดเบญจมบพิตร ในปี พ.ศ. 2431 ทรงอาราธนาพระเถรานุเถระมาประชุมชำระพระไตรปิฏกและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยพระราชทานไปยังพระอารามต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 1,000 ชุด เรียกว่าพระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ และในปี พ.ศ. 2445 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์เพื่อจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ให้ดียิ่งขึ้น กำหนดให้สมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุขและผู้บังคับบัญชาสูงสุดฝ่ายสงฆ์ กำหนดให้มีมหาเถรสมาคม เป็นองค์การปกครองสูงสุดของสงฆ์ นับเป็นพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ฉบับแรกของไทย
ส่วนการคมนาคมกับต่างจังหวัด โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ กับนครราชสีมาเป็นสายแรก เมื่อ พ.ศ. 2433 หลังจากนั้นจึงมีการสร้างทางรถไฟไปยังภาคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ในด้านการสื่อสาร ได้โปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งเครื่องโทรเลข โทรศัพท์ ตามด้วยการรับส่งจดหมายอย่างเป็นระบบ และสามารถตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขได้ในพ.ศ.2426 นอกจากการนั้น สาธารณูปโภคพื้นฐานอันได้แก่ ไฟฟ้า และน้ำประปา ก็เกิดขึ้นรัชสมัยของพระองค์ท่านด้วยเช่นเดียวกัน
© 2021 Chulalongkorn University
|
One fine body…