Servitude of the ladies of The Royal Inner during the Reigns of King Rama IV, V, and VI แนวคิดการเป็นข้าช่วงใช้ จากมุมมองของสตรีผู้เป็นข้าราชการสำนักฝ่ายใน ในสมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6

ชื่อผู้แต่งบี เมลานี อ้นตระการ Bee Melanie Ontrakarn
หัวเรื่องwomen -- thailand -- social conditions
courts and courtiers -- thailand
thailand -- history -- 1851-1925
สตรี -- ไทย -- ภาวะสังคม
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- 2394-2468
ราชสำนักและข้าราชสำนัก -- ไทย
ปีที่พิมพ์2548
more info
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ ก็เพื่อเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นในการที่ต้องปรับปรุงกองทัพบกของประเทศไทยให้ทันสมัยแบบตะวันตก ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพื่อที่จะดำรงรักษาเอกราชอธิปไตยของไทยและสันติสุขของประเทศ ในเวลาที่มหาอำนาจฝรั่งเศสและอังกฤษกำลังคุกตามเอกราชอธิปไตยของไทย ทั้งยังให้เห็นอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจที่มีต่อการปรับปรุงกองทัพบก และอุปสรรคในการดำเนินการนั้นๆ วิทยานิพนธ์ได้แบ่งออกเป็น 6 บท บทนำกล่าวถึงความสำคัญของเรื่อง ความมุ่งหมาย และขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า วิธีดำเนินการและประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า บทที่หนึ่งเกี่ยวกับวิวัฒนาการของกองทัพบกของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาเป็นลำดับ จนถึงก่อนการปรับปรุง บทที่สอง ชี้ให้เห็นถึงสาเหตุที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบและการดำเนินงานของกองทัพบกให้เป็นแบบใหม่ทัดเทียมอารยประเทศทั้งหลาย บทที่สาม เป็นบทเริ่มต้นปรับปรุงกองทัพบก ซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการอะไรมากนัก บทที่สี่ เป็นการปรับปรุงกองทัพบกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงดำเนินการอย่างจริงจัง ตั้งแต่การเตรียมคน และปัจจัยการเงิน จนกระทั่งปรับปรุงเป็นผลสำเร็จ ไทยมีกองทัพประจำการและการทหารได้กลายเป็นอาชีพ บทที่ห้า กล่าวถึงการปรับปรุงกองทัพบกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งกองทหารได้เข็มแข็งและทันสมัย และได้มีโอกาสเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 และได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงกองทัพบกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และบทสุดท้าย เป็นบทสรุปและวิเคราะห์ ซึ่งรวมทั้งอุปสรรคและการแก้ไขอุปสรรคดังกล่าว ตลอดจนการประเมินขีดขั้นความสามารถของกองทัพบกไทยไว้ด้วย